หมวดหมู่ : ทั่วๆไป
เรื่อง : โรคซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้าที่ต้องรีบรักษา
blog : yadayada
ระดับ : [ มือใหม่ ]
อ่าน : 5444
อังคาร ที่ 15 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562
พิมพ์  

ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แล้วคาดการณ์ว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคหัวใจหลอดเลือด เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่กดดันการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น

         ขณะที่ประเทศไทยเอง กรมสุขภาพจิตก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหานี้ เพราะได้เฝ้าจับตามองสถานการณ์โรคซึมเศร้ามาตลอด โดยจากข้อมูลในปี 2559 พบว่ามีคนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 12 ล้านคน และเป็นผู้ที่ไม่ได้พบแพทย์มากกว่า 1 ล้านคน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล

โรคซึมเศร้าคืออะไร

          โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล จึงต้องได้รับการรักษาโดยเร็วด้วยการปรึกษาจิตแพทย์

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

          โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง

          ทั้งนี้ สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้ามาจากหลายปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ พัฒนาการของจิตใจ และสิ่งแวดล้อมที่เผชิญ เช่น ประสบกับความเครียดหนัก ๆ เจอมรสุมชีวิต เจ็บป่วยเรื้อรังจนหมดกำลังใจ พบกับความสูญเสียในชีวิต เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก สูญเสียคนรัก ครอบครัว ตกงาน ปัญหาเรื่องการเงิน ต้องย้ายบ้านกะทันหัน ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น และหากเจอกับเหตุการณ์หรือความรู้สึกเหล่านั้นบ่อย ๆ ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

          นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เพราะโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากมีญาติเป็น แล้วเราจะเป็นไปด้วย เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่ามีปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นมากระตุ้นด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ดี ผู้หญิงมักประสบกับภาวะนี้มากกว่าผู้ชายถึง 70% และมักเริ่มต้นเมื่อราวอายุ 32 ปี

โรคซึมเศร้า

อาการโรคซึมเศร้า

          อาการแสดงของโรคซึมเศร้าในแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไปในลักษณะนี้

          + มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)

          + ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่าง ๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก

          + น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก

          + นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป

          + กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

          + อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง

          + รู้สึกตนเองไร้ค่า

          + สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด

          + คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

          * ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ

          * ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่ 

          ทั้งนี้ ในผู้ป่วยที่เป็นหนักต้องระวังให้มาก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูงมาก หากมีเรื่องมากระทบจิตใจเพียงนิดเดียว โดยจากสถิติพบว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายมากกว่าร้อยละ 60 ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าด้วย

          อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังป่วยมาได้นานเท่าไรไม่สามารถบอกได้ เพราะในบางคนป่วยมาแล้ว 1-2 ปีถึงออกอาการ แต่บางคนป่วยแค่ 6 เดือนก็รู้ตัวแล้ว จึงสามารถรักษาให้หายได้

โรคซึมเศร้า สลับกับอารมณ์ดีผิดปกติ (Bipolar disorder)

         มีโรคทางอารมณ์อีกชนิดหนึ่งคือ BACCARAT โรคไบโพลาร์ คนที่เป็นโรคชนิดนี้เมื่อป่วยขึ้นมาจะมีอาการได้ 2 แบบ คือ แบบซึมเศร้า และแบบตรงข้ามกับซึมเศร้า เวลาที่มีอาการแบบซึมเศร้า (depressive episode) ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคซึมเศร้าทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า (manic episode) ผู้ป่วยจะอารมณ์ดีผิดปกติ มีความสุขมาก พูดมาก หัวเราะเก่ง ใจดี ใช้เงินเปลือง มีโครงการใหญ่ ๆ โต ๆ ผุดขึ้นมาในหัวเต็มไปหมด บางรายก้าวร้าวเที่ยวไปก้าวก่ายคนอื่น บางรายมีความต้องการทางเพศมากBACCARAT บางรายมีอาการหลงเชื่อผิด ๆ ด้วย เช่น คิดว่าตนเป็นซูเปอร์แมนมาพิทักษ์ชาวโลก

          ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดีผิดปกตินี้ต้องการการรักษาด้วยยาที่ต่างไปจากโรคซึมเศร้าธรรมดา ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า แพทย์มักจะถามว่าเคยมีช่วงที่อารมณ์ดีผิดปกติหรือไม่ เพื่อช่วยแยกโรคให้ถูกต้อง

BACCARAT



รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
วัน/ เดือน/ ปีเกิด :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
yadayada
yada beeno
18/11/2525

4 เรื่อง
[ มือใหม่ ]